ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์กับสิ่งที่หลายคนยังไม่รู้
สารบัญบทความ ” ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ “
เนื่องจากการเกษตรในปัจจุบัน มีการใช้งานน้ำ เป็นจำนวนมาก สำหรับทำไร่ นาและ สวนต่างๆ ซึ่งเป็นอาชีพหลัก และธุรกิจหลักของประเทศไทยในปัจจุบัน ต้องขอกล่าวถึงการบริหารน้ำ หรือการเอาเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยสำหรับทำการเกษตรในปัจจุบัน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อทำให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น และได้มีต้นทุนในการผลิต พืชผลทางการเกษตรที่ต่ำต้นทุนในการผลิต พืชผลทางการเกษตรที่ต่ำลงในปัจจุบัน
วันนี้จะขอพูดถึง องค์ประกอบหลัก ในการใช้น้ำ และการบริหารน้ำ ในการทำการเกษตร พืช สวน ไร่ นาในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทาง และข้อมูล ในการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เกี่ยวกับน้ำ และการจัดสรร การลดต้นทุน เพื่อการเกษตรดังกล่าว
ระบบปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ จึงเป็นระบบที่เป็นเทคโนโลยี ที่เข้ามาใหม่และค่อนข้างได้รับความนิยมแพร่หลาย ทั้งในระดับอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ในการเข้ามาช่วยลดต้นทุน จากการสูบน้ำ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ จึงมีบทบาทเป็นอย่างมากที่ช่วยเกษตรกร ได้ใช้พลังงานฟรี ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังที่กล่าวมา

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ หรือ ปั๊มบาดาลโซล่าเซลล์
1.ระบบปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ แบ่งตามประเภทไฟฟ้า
1.1ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ชนิด AC
ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ชนิด AC โครงสร้างประกอบหลักๆ ก็จะเหมือนกับปั๊ม ที่เราใช้กันตามบ้านเรือนทั่วไป คือรับไฟฟ้าชนิด AC ทั้งขนาด 220 โวลท์ และขนาด 380 โวลต์ ชนิด 1 เฟสและ 3 เฟสตามลำดับ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ชนิดนี้ จะเป็นปั๊มที่ใช้กันมายาวนานหลายสิบปี เนื่องจากเป็นปั๊มที่มีหลักการทำงาน ไม่ซับซ้อน ใช้หลักการเหนี่ยวนำของขดลวด จึงทำให้เกิดความเสียดสี ค่อนข้างน้อย และประสิทธิภาพก็ดีพอสมควร ด้วยราคา ที่มีผู้ผลิตเป็นจำนวนมากหลายแบรนด์ หลายยี่ห้อผลิตสู่ท้องตลาด จึงทำให้ราคาไม่สูงมากนัก สามารถลงทุนด้วยจำนวนเงินไม่มาก ก็สามารถซื้อมอเตอร์ชนิดนี้ ได้ไม่ยาก และมีการใช้งานแพร่หลายทั่วไป ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ชนิด AC นี้เวลาใช้งานจึงต้องต่อร่วมกับอินเวอร์เตอร์ ที่คอยทำหน้าที่แปลงไฟกระแสตรง หรือไฟ DC จากแผงโซล่าเซลล์ ให้กลายเป็นไฟกระแสสลับ และเพิ่มแรงดัน ให้สูงในเรทการทำงานคือ 220 โวลต์หรือ 380 โวลต์นั่นเอง
1.2 ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ชนิด DC
ปั๊มน้ำ DC เป็นปั๊มน้ำที่สามารถ รับแรงดันโดยตรง จากแผงโซล่าเซลล์ ได้เลยจึงไม่จำเป็นต้องมี Inverter หรือวงจรซับซ้อน เพียงแต่ใช้กล่องควบคุม หรือประจุ หรือ เรียบเรียงกระแสไฟฟ้า กระแสตรงผ่านเข้า สู่ตรงสู่มอเตอร์ ได้เลยมอเตอร์กระแสตรง จะแบ่งออกเป็นตามชนิด โครงสร้างหลัก ๆ ดังนี้
1.2.1 มอเตอร์กระแสตรง
ชนิดใช้แปรงถ่าน จะเป็นมอเตอร์กระแสตรง ที่มีโครงสร้างในการจ่ายไฟฟ้า กระแสตรง เข้าสู่ตัวมอเตอร์ ผ่านแปรงถ่าน สู่โรเตอร์ เพื่อสั่งให้มอเตอร์ ทำงานต่อไป ข้อเสียของมอเตอร์ ชนิดนี้ คือเมื่อแปรงถ่านสึกหรือ ใช้งานเป็นเวลานาน จึงทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงถ่าน และ มีการดูแลซ่อมบำรุง อย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าปล่อย ให้แปรงถ่านหมดแล้ว มอเตอร์จะไม่สามารถทำงาน และ อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้
1.2.2 มอเตอร์ชนิดบัสเลส
มอเตอร์ชนิดนี้ ยังเป็นมอเตอร์ ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง หรือสามารถใช้ไฟฟ้า จากแผงโซล่าเซลล์ ได้เลย แต่จะไม่มีแปลงถ่าน เป็นตัวประกอบ เหมือนมอเตอร์ ที่กล่าวมาแล้ว ข้อดีคือ จะลดแปรงถ่าน ทำให้เราไม่ต้องซ่อมบำรุง หรือ เปลี่ยนแปลงถ่าน ในระยะยาว นั้นเองมอเตอร์ ชนิดนี้ จะมีประสิทธิภาพสูงกว่ามอเตอร์ ชนิดแปรงถ่าน เป็นเทคโนโลยี ที่ใหม่กว่า และมีการพัฒนา จากผู้ผลิตมากมาย หลายเจ้า

2.ระบบปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ แบ่งตามประเภท แหล่งน้ำ

2.1 ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ สูบน้ำผิวดิน
ปั๊มโซล่าเซลล์ สูบน้ำผิวดิน หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปั๊มโซล่าเซลล์หอยโข่ง ปั๊มชนิดนี้มีการใช้งาน เหมาะสมกับการสูบน้ำ ที่อยู่ผิวดิน เช่นแหล่งน้ำ บ่อน้ำ หรือ ร่องน้ำ หรือแม่น้ำ ต่างๆ จากท่อดูด เข้าสู่ตัวหอยโข่ง ที่อยู่ติดกับตัวมอเตอร์ จากนั้นใบพัดในหอยโข่ง จะทำการปั่นน้ำ และส่งออกไป ทางท่ออีกด้านหนึ่ง ของมอเตอร์นั่นเอง มอเตอร์ชนิด นี้มีข้อดี คือจะมีแรงดันน้ำที่สูง ได้น้ำค่อนข้างไว เนื่องจากมอเตอร์ มีรอบการใช้งาน ที่ค่อนข้างสูงนั่นเอง มอเตอร์ชนิดนี้มีความนิยม ในการใช้ในสวน เพื่อลดน้ำการเกษตร ในพื้นที่ ที่ใช้ท่อส่งน้ำยาวๆ เป็นจำนวนมาก มอเตอร์หอยโข่ง โซล่าเซลล์ นี้ดูแลรักษาง่าย และค่อนข้าง เป็นมอเตอร์ ที่จะรับความแพร่หลาย กันเป็นอย่างมาก มีขนาดตั้งแต่ 1 แรงม้า ถึงมากกว่า หลักร้อยแรงม้า กันเลยทีเดียว

ปั๊มบาดาลโซล่าเซลล์
2.2 ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ สูบน้ำใต้ดิน
ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ชนิดสูบน้ำบาดาล หรือสูบน้ำใต้ดินปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ชนิดนี้จะมีรูปร่างคล้าย ทรงกระบอก ความยาวขึ้นอยู่กับ จำนวนใบพัด ด้วยโครงสร้างหลักๆ จะประกอบด้วย ตัวมอเตอร์ และใบพัด สามารถแยกออกจากกันได้ ตัวเครื่องประกอบด้วย โครงสร้าง ที่ทำจาก สแตนเลส เนื่องจาก มอเตอร์ชนิดนี้ จะใช้มีลักษณะการใช้งาน ในการต้องจุ่มไปในบ่อน้ำ หรือ บ่อบาดาล ที่อยู่ใต้ดิน ปั๊มชนิดนี้จะมีขนาดตั้งแต่ 0.5 แรงม้า ไปยันจน 10แรงม้า กันเลยทีเดียว ปั๊มชนิดนี้ จะสามารถสูบน้ำ ในแนวตั้งได้ ตั้งแต่หลายๆเมตรจน เป็นหลักร้อยเมตรกันเลย ทีเดียว จึงนิยมใช้ปั๊มชนิดนี้สูบน้ำ จากใต้ดิน เพื่อขึ้นสู่หอเก็บน้ำสูง เพื่อแจกจ่าย ให้กับผู้ต้องการใช้น้ำ หรือ พื้นที่ ที่อยู่สูงหรือห่างไกลนั่นเอง